เมืองโบราณ (Ancient City) โทร. 02-8878802-3

เมืองโบราณ...

“วัฒนธรรมไทยได้จำเริญอยู่คู่เคียงกับไทยโบราณมาอย่างสืบเนื่อง และหากสามารถรักษาไว้สืบไป ด้วยภูมิปัญญา และความเข้าใจอันถ่องแท้แล้ว ก็จะทำให้ปัจจุบัน และอนาคตของ เรากอปรด้วย ความหมาย ที่ทรงคุณค่า มิเสื่อมคลายคำถามมีอยู่ว่า เหตุใดวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งใหญ่ไพศาลนี้ ถึงเสื่อมถอยลงได้เล่า?ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะคนทั้งหลายไม่ใส่ใจ พากันมองข้ามไปเสีย หรือว่าอาจยังมีเหตุอื่นที่สำคัญกว่า เคลือบแฝงอยู่อีก?เมื่อได้ใช้ความคิดทบทวนไปมานานครั้งเข้าจึงเห็นว่า การที่วัฒนธรรมไทยต้องเสื่อมโทรมอับเฉา ลงทุกทีๆ นั้น ก็ด้วยเหตุที่มิได้มีผู้ใดนำเอายอดแห่งแก่นสาร ของวัฒนธรรมไทย ไปเผยแพร่ในหมู่ชน อย่างกว้างขวาง และถูกต้องบริบูรณ์ด้วยการใช้รูปแบบง่ายๆ เข้าใจไม่ยาก โดยให้ประสานสอดคล้อง กับสิ่งแวดล้อม และชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันสมัยดังนั้นเมื่อคนทั้งหลายไม่มีโอกาสที่จะรับรู้ และเข้าใจวัฒนธรรมแห่งชาติ ของตนเองที่มีสืบต่อ กันมานั้นแล้ว จะให้เขาเหล่านั้นชื่นชอบและยอมรับได้อย่างไร? เมื่อเราตระหนักเช่นนี้ จึงเห็นว่าต้องลงมือทำเลยด้วยเหตุนี้ เราผู้ยึดถือวัฒนธรรมเป็นภารกิจ ย่อมต้องลงแรงส่งเสริมกิจกรรมด้านนี้อย่างสุดกำลัง” เล็ก วิริยะพันธุ์
การรวบรวมศิลปะงานช่างของสยามประเทศในยุคสมัยต่างๆ เป็นเมืองโบราณ
ศิลปะที่ปรากฎในสยามประเทศ การรวบรวมงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมของเมืองโบราณในฐานะที่เป็นแหล่งเรียนรู้นั้น ทางเมืองโบราณได้มุ่งเน้นถึงงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ อันโดดเด่นของยุคสมัยต่างๆ ที่มีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นตัวแทนของการเพาะบ่มทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน บางยุคสมัยก็มีการคาบเกี่ยวกัน ในช่วงมิติของเวลา เพราะชุมชนที่เกิดขึ้นเป็นบ้านเมืองนั้น ไม่ได้รอให้ชุมชนหนึ่ง ที่มีอยู่ก่อนเสื่อมสลายไป แล้วค่อยตั้งอีกชุมชนหนึ่งขึ้น หากว่าแต่ละชุมชนได้มีพัฒนาการความเป็น บ้านเมืองในช่วงที่ไล่เลี่ยกัน แต่อยู่ที่การแสดงออกถึงขีดแห่งความเจริญ ซึ่งมีความต่างกัน ในช่วงเวลาขึ้นอยู่ที่ว่าชุมชน ใดเข้มแข็งกว่า และพัฒนาเร็วกว่าก็จะแสดงความรุ่งเรืองเหนือชุมชนอื่นๆออกมาก่อน แต่เมื่อใดก็ตามที่ชุมชนที่เจริญอยู่เกิด มีความเสื่อมถ้อย ชุมชนที่เริ่มพัฒนา ขึ้นมาก็จะแสดงความรุ่งเรือง ของตนเองออกมาแทนที่ทันที ดังนั้นจึงกล่าวถึงช่วงสมัยต่างๆ ตามความรุ่งเรือง ที่ปรากฎออกมาอย่างเด่นชัดนับเริ่มตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี ล้านนา ล้านช้าง สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา ธนบุรี จนกระทั่งถึงรัตนโกสินทร์

|
วิหารพระศรีสรรเพชญ อยุธยา
วิหารของวัดพระศรีสรรเพชญในเขตพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา เป็นวิหารใหญ่ขนาดเก้าห้องก่ออิฐถือปูน สร้างเมื่อพ.ศ.๒๐๔๒ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๒(พ.ศ.๒๐๓๔-๒๐๗๒) เป็นที่ประดิษฐานพระศรีสรรเพชญ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืน หุ้มด้วยทองคำหนัก๓๔๖.๕ กิโลกรัม(๒๘๖ชั่ง)เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในพ.ศ.๒๓๑๐ ทหารพม่าได้สุมไฟเผาลอกทองคำที่หุ้มองค์ไปจนหมดเหลือแต่ซาก และเผาพระวิหารด้วย
ต่อมารัชกาลที ๑ มีพระราชประสงค์จะบูรณะพระศรีสรรเพชญ ให้ดีดังเดิมแต่องค์พระชำรุดเกินกว่าจะบูรณะได้จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำซากมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ทรงสร้างขึ้นในวัดพระเชตุพน แล้วพระราชทานนามว่า พระเจดีย์ศรีสรรเพ็ชญ์ดาญาณ เมืองโบราณได้ถ่ายแบบซากพระวิหารศรีสรรเพชญ มาสร้างขึ้นเพื่อแสดงแบบอย่างสถาปัตยกรรม และสภาพของสถานที่ ที่เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองหลวงเก่านี้ โดยย่อส่วนจากของจริงลงมาหนึ่งในสองส่วน
|
อัตราค่าเข้าชม "เมืองโบราณ" // เปิดทุกวัน 09.00-19.00 น. |
รายการ |
ราคาปกติ |
ราคาพิเศษ |
ผู้ใหญ่ Asia / Europe รวม รถราง และ จักรยาน |
700
|
650 |
เด็ก 6-14 ปี |
350 |
320 |
|
ราคานี้ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะต่างชาติเท่านั้น
บัตรคุ้มสยาม/ท้องถิ่น
+ จักรยาน บัตร 1 ใบ สำหรับ 1 ท่าน
+ รถรางชมเมือง (พร้อมรถกอล์ฟรับ-ส่ง จากหน้าเมืองถึงตลาดน้ำ) + นั่งเรือ
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ - วันเสาร์ ตามรอบที่กำหนดดังนี้
รอบที่ 1 08.00 - 10.00 น.
รอบที่ 2 10.00 - 12.00 น.
รอบที่ 3 13.00 - 15.00 น.
รอบที่ 4 15.00 - 17.00 น.
+ รถรางสายรอบเมือง
เปิดให้บริการทุกวันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ ตั้งแต่เวลา 8.00 - 17.00 น.
สามารถขึ้นได้ทุกคันตามสถานีรถรางรอบเมือง ภายในเมืองโบราณ
หมายเหตุ สามารถขึ้นรถรางชมเมืองได้ที่ตลาดน้ำ(ร้านริมน้ำ)
ตามรอบและเวลาที่กำหนด ไม่สามารถขึ้นระหว่างทางได้
หากตารางเวลาการเข้าชมมีการเปลี่ยนแปลง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบก่อนเข้าชม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : โทร 0 2887 8802 – 3, 0 2887 9680
|
|
เรือดินเนอร์ เรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยา เรือไหว้พระ โชว์ บัตรชมการแสดง